บทความ

ใบความรู้ที่ 2

ใบความรู้ เรื่องประโยคความซ้อน           ประโยคความซ้อน หมายถึง ประโยคที่รวมประโยคความเดียว ๑ ประโยคเป็นประโยคหลัก แล้วมีประโยคความเดียวอื่นมาเสริม มีข้อสังเกตคือ ประโยคหลัก (มุขยประโยค) กับ ประโยคย่อย (อนุประโยค) ลักษณะของประโยคความซ้อน ๑.    เป็นประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียว ๒ ประโยคไว้ด้วยกัน และมีสันธานเป็นเครื่องเชื่อม ๒.   เมื่อแยกประโยคความซ้อนออกจากกันแล้ว จะมีน้ำหนักหรือความสำคัญไม่เท่ากัน ประโยคหนึ่งจะเป็นประโยคหลัก อีกประโยคหนึ่งจะเป็นประโยคย่อย           ประโยคความซ้อนมี ๓ ประเภท ดังนี้ ๑.    ประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เหมือนคำนาม (นามานุประโยค) เช่น ฉันไม่ชอบคนรับประทานอาหารมูมมาม   (กรรม) คนขาดมารยาทเป็นคนน่ารังเกียจ   (ประธาน) ฉันไม่ได้บอกเธอว่าเขาเป็นคนฉลาดมาก   (กรรม) คนไม่ทำงานเป็นคนเอาเปรียบผู้อื่น   (ประธาน) คนทะเลาะกันก่อความรำคาญให้เพื่อนบ้าน (ประธาน) ฉันไม่ชอบคนเอาเปรียบผู้อื่น (กรรม) ๒.    ประโยคความซ้อนที่มีประโยคย่อยทำหน้าที่คล้ายคำวิเศษณ์ขยายคำนามหรือขยายสรรพนาม และมีสันธาน ที่    ซึ่ง   อัน   เป็นเครื่องเชื่อม เช่น

ใบความรู้ที่ 1

ใบความรู้เรื่องชนิดและหน้าที่ของประโยค ความหมายและส่วนประกอบของประโยค             ความหมายของประโยค                    ประโยค เกิดจากคำหลายๆคำ   หรือวลีที่นำมาเรียงต่อกันอย่างเป็นระเบียบให้แต่ละคำมีความสัมพันธ์กัน   มีใจความสมบูรณ์ แสดงให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร           ส่วนประกอบของประโยค           ประโยคหนึ่ง ๆ   จะต้องมีภาคประธานและภาคแสดงเป็นหลัก และอาจมีคำขยายส่วนต่าง ๆ ได้                     1 .   ภาคประธาน                    ภาคประธานในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ   ผู้แสดงซึ่งเป็นส่วนสำคัญของประโยค ภาคประธานนี้   อาจมีบทขยายซึ่งเป็นคำหรือกลุ่มคำมาประกอบ เพื่อทำให้มีใจความชัดเจนยิ่งขึ้น                     2 .   ภาคแสดง                    ภาคแสดงในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ประกอบไปด้วยบทกริยา   บทกรรมและส่วนเติมเต็ม บทกรรมทำหน้าที่เป็นตัวกระทำหรือตัวแสดงของประธาน   ส่วนบทกรรมทำหน้าที่เป็นผู้ถูกกระทำ   และส่วนเติมเต็มทำหน้าที่เสริมใจความของประโยคให้สมบูรณ์ คือทำหน้าที่คล้ายบทกรรม   แต่ไม่ใช้กรรม เพราะมิได้ถูกกระทำ ชนิดของประโยค      

ประโยคความรวม

ใบความรู้เรื่องประโยคความรวม           ประโยคความรวม หรือ อเนกรรถประโยค คือประโยคที่มีใจความสำคัญอยู่ตั้งแต่สองใจความขึ้นไป นั่นคือประกอบด้วยภาคแสดงหรือภาคกริยาที่มีมากกว่าหนึ่งส่วน โดยทุกประโยคย่อยมีน้ำหนักใจความสำคัญที่เท่าเทียมกัน ประโยคความรวมยังอาจแบ่งย่อยได้ตามลักษณะเนื้อความได้เป็น   ๔   ประเภทคือ ๑.       ประโยคความรวมที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน หรือ อันวยาเนกรรถประโยค              ลักษณะสำคัญคือมีการเชื่อมประโยคความเดียวหลายประโยคเข้าด้วยกันด้วยคำสันธาน   และ   และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกับคำว่าและ ประโยคความรวมที่มีเนื้อความคล้อยตามกันส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่ประโยคความเดียวย่อยเหล่านี้มีการใช้ภาคประธาน หรือภาคกริยาร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น                    - พ่อและแม่ไปตลาดโดยรถยนต์: เป็นการรวมกันระหว่างประโยคความเดียวสองประโยค คือ พ่อไปตลาดโดยรถยนต์ และ แม่ไปตลาดโดยรถยนต์                    - เธอทำการบ้านและฟังเพลงไปพร้อมๆ กัน: เป็นการรวมกันระหว่างประโยคความเดียวสองประโยค คือ เธอทำการบ้าน และ เธอฟังเพลง ๒.       ประโยคความรวมที่มีใจความขัดแย้ง หรือ พยติเรกาเนกรรถประโยค

ใบความรู้เรื่องชนิดและหน้าที่ของประโยค

ใบความรู้เรื่องชนิดและหน้าที่ของประโยค ความหมายและส่วนประกอบของประโยค             ความหมายของประโยค                    ประโยค เกิดจากคำหลายๆคำ   หรือวลีที่นำมาเรียงต่อกันอย่างเป็นระเบียบให้แต่ละคำมีความสัมพันธ์กัน   มีใจความสมบูรณ์ แสดงให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร           ส่วนประกอบของประโยค           ประโยคหนึ่ง ๆ   จะต้องมีภาคประธานและภาคแสดงเป็นหลัก และอาจมีคำขยายส่วนต่าง ๆ ได้                     1 .   ภาคประธาน                    ภาคประธานในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ   ผู้แสดงซึ่งเป็นส่วนสำคัญของประโยค ภาคประธานนี้   อาจมีบทขยายซึ่งเป็นคำหรือกลุ่มคำมาประกอบ เพื่อทำให้มีใจความชัดเจนยิ่งขึ้น                     2 .   ภาคแสดง                    ภาคแสดงในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ประกอบไปด้วยบทกริยา   บทกรรมและส่วนเติมเต็ม บทกรรมทำหน้าที่เป็นตัวกระทำหรือตัวแสดงของประธาน   ส่วนบทกรรมทำหน้าที่เป็นผู้ถูกกระทำ   และส่วนเติมเต็มทำหน้าที่เสริมใจความของประโยคให้สมบูรณ์ คือทำหน้าที่คล้ายบทกรรม   แต่ไม่ใช้กรรม เพราะมิได้ถูกกระทำ ชนิดของประโยค    

ใบความรู้ ประโยคความเดียว

ใบความรู้เรื่องประโยคความเดียว ประโยคความเดียว           ประโยคความเดียว เป็นประโยคที่นำคำมาเรียงกัน เเล้วมีความหมายสมบูรณ์บอกให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร โดยมีเนื้อความเพียงเนื้อความเดียว หรือกล่าวถึง สภาพอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงสภาพเดียว ประโยคความเดียว มีส่วนประกอบที่สำคัญ ๒ ส่วน คือ ภาคประธาน และภาคเเสดง ซึ่งทั้งภาคประธานและภาคเเสดงนี้อาจมีบทขยาย เพื่อทำให้ประโยคมีความหมายชัดเจนมากขึ้น   ตัวอย่าง ประโยค ประธาน บทขยายประธาน กริยา บทขยายกริยา กรรม บทขยายกรรม นกบิน นก - บิน - - - วัวกินหญ้า วัว - กิน - หญ้า - เสือตัวใหญ่นอนหลับ เสือ ตัวใหญ่ นอนหลับ - - - เก่งเล่นสกปรก เก่ง - เล่น สกปรก - - คนสวยอุ้มแมวอ้วน คน สวย อุ้ม - แมว อ้วน